Hazardous Materials หรือ Dangerous Goods เป็นสินค้าที่มีการขนส่งอยู่เป็นประจำ ซึ่งสินค้าประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน หรือสภาพแวดล้อม หากไม่ได้รับการจัดการดูแลป้องกันอย่างถูกต้อง องค์กรสหประชาชาติจึงได้มีการกำหนดถึงข้อกำหนดและระเบียบข้อบังคับ เพื่อลดความเสี่ยงเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง โดยแบ่งตามลักษณะความเสี่ยงออกเป็น 9 ประเภท สินค้าอันตราย มีอะไรบ้าง เราจะพามาไขคำตอบกันในบทความนี้
สินค้าอันตราย
สินค้าอันตราย คือ (Dangerous Goods) หมายถึง สิ่งของ หรือ วัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมี หรือ ทางกายภาพโดยตัวมันเอง เมื่อสัมผัสกับสาร เช่น อากาศ หรือ น้ำ จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สุขภาพและทรัพย์สิน รวมถึงต่อสภาพแวดล้อม
ความสำคัญของการระบุประเภทสินค้าอันตราย
เป็นกฎระเบียบและข้อกำหนดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการสินค้าอันตรายโดยเฉพาะ เพื่อการป้องกัน ความปลอดภัย แนวทางจัดเก็บและขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากมีการจัดการที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดมลพิษได้
คำแนะนำเบื้องต้น
- อ่านฉลาก – ก่อนจัดการกับสารเคมีหรือวัตถุใดๆ ควรอ่านฉลากเพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและวิธีการจัดการที่ถูกต้อง
- สวมอุปกรณ์ป้องกัน – เมื่อจัดการกับสินค้าอันตราย ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตา หน้ากาก
- จัดเก็บในที่ปลอดภัย – เก็บสินค้าอันตรายในที่แห้ง เย็น และห่างจากแหล่งความร้อน
9 ประเภท สินค้าอันตราย
สินค้าอันตรายมีหลายประเภทด้วยกัน จำแนกตามลักษณะอันตรายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการขนส่งและจัดเก็บ การทำความเข้าใจสินค้าอันตรายประเภทต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ประเภทของสินค้าอันตราย 9 ประเภท ได้แก่
1.วัตถุระเบิด (Explosives)
สารหรือวัตถุอันตรายที่สามารถระเบิดได้ เมื่อได้รับการกระแทก ความร้อนหรือประกายไฟ เช่น ดินปืน ดอกไม้ไฟ เป็นต้น ซึ่งจำแนกย่อยได้อีก 5 แบบ คือ
- สารหรือวัตถุที่มีความอันตรายได้หากเกิดการระเบิดขึ้น
- สารหรือวัตถุที่มีความอันตรายได้หากเกิดการพุ่งกระเด็นแต่จะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด
- สารหรือวัตถุที่มีความอันตรายหากเกิดการติดไฟหรือพุ่งกระเด็นแต่จะไม่ก่อให้เกิดการระเบิดทั้งหมด
- สารหรือวัตถุที่ไม่สามารถระบุถึงลักษณะของการระเบิดได้
- สารที่ไม่มีความไวต่อปฏิกิริยาการระเบิดแต่มีโอกาสเล็กน้อยอาจนำไปสู่การระเบิดได้
- สารที่ไม่มีความไวต่อปฏิกิริยาการระเบิด
2.ก๊าซ (Gases)
สารที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ หากเกิดการรั่วไหล การติดไฟหรือก่อให้อากาศกลายเป็นพิษ เช่น ก๊าซไวไฟ ก๊าซหุ่งต้มหรือแอลพีจี ก๊าซพิษจำพวกคลอรีน เป็นต้น ก๊าซในกลุ่มที่อาจทำให้เกิดสภาวะการขาดออกซิเจน เช่น ฮีเลียม
3.ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
ของเหลวไวไฟที่สามารถลุกติดไฟได้หากมีแหล่งกำเนิดของประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล หรืออะซิโตน เป็นต้น
4.ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)
สารที่เป็นของแข็งที่สามารถลุกติดไฟได้ง่าย หรือลุกติดไฟได้เอง เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสขาว เป็นต้น หรือสารที่เป็นของแข็งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้เมื่อสัมผัสกับน้ำและทำปฏิกิริยากัน เช่น โซเดียม แคลเซียม หรือแคลเซียมคาร์ไบด์
5.สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing Substances)
- สารออกซิไดส์ สามารถสร้างออกซิเจนออกมาได้ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการลุกติดไฟของวัตถุ เช่น แอมโมเนียมไนเตรด ไฮโดรเจรเปอร์ออกไซด์
- สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ สามารถทำปฏิกิริยากันสารชนิดอื่นได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดลุกไหม้อย่างรวดเร็ว มีความไวต่อการเสียดสีหรือพุ่งกระเด็น เช่น เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์
6.สารพิษหรือสารติดเชื้อ (Toxic/Infectious Substances)
เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หากมีการสูดดม รับประทานหรือซึมซับผ่านผิวหนัง เช่น ไซยาไนด์ หรือสารที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายต่อชีวภาพ
7.สารกัมมันตรังสี (Radioactive Material)
สารหรือวัตถุที่สามารถแผ่กัมมันตรังสีออกมาได้เมื่อมีการสลายตัว โดยที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อได้รับการสัมผัสจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง เช่น ยูเรเนียม
8.สารกัดกร่อน (Corrosive Substances)
สารกัดกร่อนที่ทำปฏิกิริยาทางเคมี สร้างความเสียหายให้กับร่างกายหรือสิ่งของได้เมื่อเกิดการรั่วไหล เช่น กรดซัลฟิวริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น
9.สารเบ็ดเตล็ด/สารที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Miscellaneous Dangerous Substances)
สารอันตรายในหมวดนี้ไม่จัดอยู่ในประเภทอื่นข้างต้น เช่น แร่ใยหิน น้ำแข็งแห้ง หรือแก๊สในถุงลมนิรภัย เป็นต้น
UN Number คืออะไร
UN Number คือ เลขอ้างอิง 4 หลัก ซึ่งใช้แทนชื่อสินค้าแต่ละประเภท แสดงสมบัติของสารอันตรายตามข้อกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN Recommendation on the Transport of Dangerous Goods) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการวางระบบการจัดการและการป้องกันสาธารณภัยจากการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ในชื่อ “ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย”
ข้อกำหนดและระเบียบบังคับของสินค้าอันตราย
สินค้าที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือจุลชีววิทยา ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม หรือทรัพย์สิน หากไม่ได้รับการจัดการและขนส่งอย่างถูกต้องและปลอดภัย จึงต้องมีการกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับ เพื่อความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการขนส่งหรือวิธีการจัดเก็บสินค้าอันตราย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการรั่วไหลหรือการปล่อยสารอันตราย โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในการจัดการสินค้าอันตราย
ข้อกำหนดและระเบียบบังคับโดยทั่วไป
- การจัดประเภท : แบ่งสินค้าอันตรายออกเป็นกลุ่มตามลักษณะอันตราย เช่น วัตถุระเบิด ก๊าซ กัมมันตภาพรังสี ฯลฯ
- การบรรจุและหีบห่อ : กำหนดชนิดและขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชนิดของสินค้าอันตราย
- การทำเครื่องหมาย : ต้องมีการทำเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าอันตราย และระบุชนิดของอันตราย
- การติดฉลาก : ต้องมีการติดฉลากแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอันตราย เช่น ชื่อสินค้า หมายเลข UN สัญลักษณ์อันตราย ฯลฯ
- เอกสารการขนส่ง : ต้องมีเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าอันตรายที่ขนส่ง เช่น ใบขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods Safety Advisory)
- การฝึกอบรม : ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าอันตรายต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม : รับผิดชอบกำหนดกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สารเคมีอันตราย
- กรมขนส่งทางบก : รับผิดชอบกำหนดกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายทางบก
- กรมเจ้าท่า : รับผิดชอบกำหนดกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายทางน้ำ
สรุปแล้วสินค้าอันตราย (หรือ “Dangerous Goods”) เป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมในระหว่างการขนส่ง ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้งในลักษณะของก๊าซ ของเหลวหรือของแข็ง โดยมีการจำแนกแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ตามคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ ซึ่งผู้ที่ทำการขนส่งหรือธุรกิจนำเข้าสินค้าประเภทนี้ต้องทำความเข้าใจและศึกษาถึงกฏระเบียบ ข้อบังคับและปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย รับผิดชอบและป้องกันไม่ให้สภาพแวดล้อมเสียหาย ซึ่งหากผู้ประกอบการหรือองค์กรธุรกิจที่ต้องการนำเข้าสินค้าอันตรายประเภทเหล่านี้ ยังไม่เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อสอบถาม Taobao2you เพื่อให้การนำเข้าสินค้าอันตราย เป็นไปอย่างถูกต้อง มีการบรรจุหีบห่อป้องกันอย่างดี อีกทั้งไม่กระทบต่อการขนส่งในระหว่างทาง พร้อมการเดินเอกสารพิธีการขั้นตอนต่างๆให้ครบจนถึงการส่งมอบ สามารถพูดคุยขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาทำการที่ www.taobao2you.com
_____________
ช่องทางการติดต่อ : Taobao2you.com/contact-us
เบอร์โทร : 091-505-0775 ( จันทร์ – เสาร์ 9:00-18:00 )
เฟสบุ๊ค : Taobao2you
อีเมล : Taobao2you@gmail.com
แอป | แอนดรอยด์ : คลิก
ไลน์ : @TAOBAO2YOU