เขตปลอดอากร ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางโอกาสทองสำหรับธุรกิจ พื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ทำให้เป็นทำเลที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจมากมาย เพราะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมาก
เขตปลอดอากร คืออะไร?
เขตปลอดอากร (Free Zone) คือ เป็นพื้นทื่ที่หน่วยงานหรือรัฐบาลมีการกำหนดไว้ โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีและอากรทางศุลกากรในการประกอบธุรกิจ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือ กิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศและผูัที่จะจัดตั้งเขตปลอดอากรต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
หน่วยงานจัดเก็บภาษี ศุลกากร คืออะไร ? สำคัญอย่างไรกับธุรกิจนำเข้าสินค้า
ประโยชน์ของเขตปลอดอากร
สิทธิประโยชน์เขตปลอดอากร Free Zone มีอะไรบ้าง กิจการหรือธุรกิจที่ลงทุนภายในพื้นที่นี้จะได้รับผลดี ดังนี้
- ยกเว้นอากรขาออก – สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปนอกประเทศโดยปล่อยจากเขตปลอดอากร ผู้ประกอบการจะได้รับการยกเว้นภาษี
- ยกเว้นอากรขาเข้า – สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาภายในประเทศ เพื่อไปยังเขตปลอดอากรจะได้รับการยกเว้นภาษี รวมถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของกิจการที่จัดตั้งอยู่ภายในพื้นที่นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งของที่ใช้ประกอบการทำกิจการ อันเป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
- สินค้าที่ถูกผลิตภายในเขตปลอดอากร จะได้รับการยกเว้น ทำให้มีต้นทุนที่ลดลง
- สินค้าระหว่างทาง – วัสดุหรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีการนำเข้ามาภายในประเทศเพื่อตรวจสอบหรือบรรจุใหม่ แล้วส่งกลับออกไปเพื่อไปยังผู้ซื้อขั้นสุดท้าย จะได้รับการยกเว้นอากร
- การส่งสินค้าระหว่างเขตปลอดอากร – สินค้าที่ถูกปล่อยมาจากเขตปลอดอากรอื่นจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจในเขตปลอดอากร
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจในเขตปลอดอากร คือ เอกสารที่ออกให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจภายในเขตปลอดอากร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ บางประเภท ได้รับมาจาก กรมศุลกากร โดยผู้ที่สนใจจะต้องยื่นคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด ใช้เพื่อ อนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถประกอบกิจการต่างๆ ภายในเขตปลอดอากรได้ เช่น การผลิต การค้า การขนส่ง และการให้บริการ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจุดประสงค์หลักของใบอนุญาตมีไว้เพื่อ
- ส่งเสริมการลงทุน : ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้เข้ามาตั้งโรงงานหรือดำเนินธุรกิจในเขตปลอดอากร
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน : ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการผลิตและการนำเข้าวัตถุดิบ ทำให้สินค้ามีราคาแข่งขันได้มากขึ้น
- ส่งเสริมการส่งออก : ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเขตปลอดอากรสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษีส่งออก
ค่าธรรมเนียมของเขตปลอดอากร
ในฐานะผู้จัดตั้งเขตปลอดอากร การได้รับสิทธิประโยชน์ในเขตปลอดอากรรวมถึงผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร จะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสำหรับผู้จัดตั้ง 10,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้จัดตั้ง 300,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการภายในพื้นที่ 5,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ประกอบการ 15,000 บาท
เขตการค้าเสรี เหมือนกับ เขตปลอดอากร หรือไม่?
เขตการค้าเสรี (Free Trade Area)
- เป็นพื้นที่ที่กว้างกว่า อาจครอบคลุมหลายประเทศ หรือเป็นกลุ่มประเทศ
- เน้นการลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งภาษีและอุปสรรคอื่นๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
- เป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้เติบโต
- ตัวอย่าง เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN)
เขตปลอดอากร (Free Zone)
- เป็นพื้นที่ที่มักจัดตั้งอยู่ภายในประเทศ
- เน้นการยกเว้นภาษีและอากร สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในเขต ใช้ประกอบกิจการภายใน ผลิตและส่งออกจากภายในเขตพื้นที่ การปล่อยของระหว่างเขต
- เป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมการผลิต การส่งออก และการลงทุน
- ตัวอย่าง เช่น เขตปลอดอากรสุวรรณภูมิ
|
Free Trade Zone |
Free Zone |
ขนาด |
พื้นที่กว้างขวาง |
พื้นที่จำกัด |
สมาชิก |
หลากหลายประเทศ |
ภายในประเทศ |
เป้าหมาย |
ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ |
ส่งเสริมการผลิตและการลงทุน |
สิทธิประโยชน์ |
ลดภาษีและอุปสรรคทางการค้า |
ยกเว้นภาษีและอากร |
แม้ทั้งสองจะมีความเกี่ยวข้องกับการค้าและภาษี แต่เขตการค้าเสรีเน้นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในขณะที่เขตปลอดอากรเน้นการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
สรุปเขตปลอดอากร เขต Free Zone คือโอกาสทองสำหรับธุรกิจ พื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ทำให้เป็นทำเลที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจมากมาย เพราะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมาก รวมถึงส่งเสริมการลงทุน สร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ และที่สำคัญคือกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
_____________
ช่องทางการติดต่อ : Taobao2you.com/contact-us
เบอร์โทร : 091-505-0775 ( จันทร์ – เสาร์ 9:00-18:00 )
เฟสบุ๊ค : Taobao2you
อีเมล : Taobao2you@gmail.com
แอป | แอนดรอยด์ : คลิก
ไลน์ : @TAOBAO2YOU