Dead Stock คือ

Dead Stock คืออะไร? สินค้าขายไม่ออก ปัจจัยที่ทำให้เกิดสินค้าตกค้าง แก้อย่างไร

ทุกธุรกิจต่างกลัวเจอปัญหาสินค้าค้างสต๊อกกันทั้งนั้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการผลิตสินค้าและต้องจำหน่ายสินค้าและจัดเก็บสต๊อกสินค้าในการเตรียมจัดส่งให้กับลูกค้า ซึ่งการมีสินค้าค้างสต็อกมากไปและจำหน่ายไม่ได้ จะส่งผลทำให้ธุรกิจต้องจมกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือกับสินค้าค้างสต๊อก ทุกธุรกิจควรตระหนักในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก บทความนี้จะมาไขข้อกระจ่างว่า Dead Stock คือ อะไรกันแน่ พร้อมแนวทางวิธีป้องกัน แก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น

Dead Stock คือ ..?

สินค้าค้างสต๊อก คือ สินค้าตกค้างในสต๊อกหรือคลังที่ไม่ได้มีการนำออกมาจำหน่าย ไม่มีการเคลื่อนไหวมานาน อาจเป็นสินค้าค้างสต๊อกที่ขายไม่ออก หรือ สินค้าที่ถูกเก็บไว้ในสต๊อกมานาน ส่งผลต่อธุรกิจโดยตรงทำให้ขายไม่ออกและเป็นการเพิ่มต้นทุนต่อธุรกิจ

สาเหตุที่ทำให้เกิดสินค้าค้างสต็อก (Dead Stock)

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อกมี 5 สาเหตุหลักๆ ด้วยกันคือ

1.สินค้าขายไม่ได้

การขายไม่ได้ดีอาจมาจากเรื่องของราคาสินค้าที่อาจจะแพงเกินไป สินค้าไม่ติดเทรนด์ ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

2.สินค้าไม่ได้คุณภาพ

สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้คุณภาพ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิด Dead Stock เพราะหากสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้วแต่ไม่สามารถใช้ได้ หรือ สินค้าไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ลูกค้าจะคอมเพลนเข้ามาหรืออาจส่งสินค้าคืน ส่งผลทำให้สินค้าตกค้างในสต๊อกได้นั่นเอง

3.สินค้าเสียหาย

สินค้าเสียหายง่าย มาจากหลายปัจจัย ทั้งกระบวนการผลิต การแพ็กสินค้า การขนส่ง ซึ่งสินค้าที่ชำรุดเสียหายย่อมส่งผลทำให้สินค้าขายไม่ได้เกิดเป็นเดสสต๊อกในที่สุด

4.สต๊อกสินค้ามากเกินไป

เรื่องสต๊อกสินค้ามากเกินไป มักเกิดขึ้นในช่วงที่สินค้าขายดีหรือกำลังติดเทรนด์ และเจ้าของสินค้าไม่ได้พิจารณาเรื่องของยอดการขายว่าจะขายได้ตามจำนวนที่สต๊อกไว้ ส่งผลให้มีสต๊อกสินค้ามากไป

5.การแข่งขันสูง

การค้าขายทุกยุคทุกสมัยต่างต้องมีการแข่งขันในเรื่องของการขายทุกชนิด หากทำการตลาดไม่ดีก็มีโอกาสทำให้ขายไม่ได้และสุดท้ายก็เป็นเดทสต๊อกได้

ลักษณะสินค้าที่เป็น dead stock

สินค้าลักษณะแบบไหน ถึงจะเรียกว่า “Dead Stock”

ลักษณะสินค้าที่เป็น dead stock จะมีลักษณะเป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมานาน ถูกเก็บไว้ในคลังสินค้ามานาน ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ สินค้าขายไม่ออก สินค้าที่ได้รับความเสียหาย สินค้าล้าสมัยไม่ได้รับความนิยม สินค้าที่มีการส่งคืนจากลูกค้าแล้วไม่สามารถนำมาขายต่อได้อีก ลักษณะสินค้าทั้งหมดเหล่านี้จะกลายมาเป็นสินค้าค้างสต๊อก

ผลเสียต่อภาคธุรกิจ หากมีสินค้าค้างสต๊อกมากเกินไป

1.โอกาสขาดทุนสูง

ธุรกิจที่สต๊อกสินค้าเพื่อนำมาขายส่วนใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง เมื่อขายสินค้าไม่ได้ ย่อมเกิดเป็น Dead Stock และต้นทุนที่จ่ายไปจะไม่มีทางได้กลับคืนมาและสุดท้ายก็คือทำให้ธุรกิจขาดทุน

เมื่อเกิดสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมากย่อมหมายถึงจะต้องมีการเช่าพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสินค้าบางประเภทอาจต้องเก็บรักษาให้คงสภาพเดิม ส่งผลทำให้ต้องแบกค่าใช้จ่าย ต้นทุนในการจัดเก็บที่มากขึ้น

ต้นทุนค่าเสียโอกาส มาจากการจ่ายค่าเช่าเก็บรักษาสินค้าในสต๊อก เพราะต้องเสียเงินไปกับการจัดเก็บ ทำให้ต้นทุนหรือเงินที่มีลดน้อยลง ทำให้เสียโอกาสการทำธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีจัดการแก้ไขปัญหาสินค้า Dead Stock

การจัดการสินค้าค้างสต๊อก มีวิธีจัดการแก้ปัญหาสินค้าค้างสต๊อก ดังต่อไปนี้

1.เพิ่มช่องทางและจำนวนลูกค้า

สำหรับร้านค้าที่มีของในสต๊อกสินค้าจำนวนมาก การหาช่องทางจำหน่าย หรือจัดงานเพิ่มช่องทางการขาย เป็นอีกทางเลือกที่สามารถเรียกลูกค้าเข้าร้านได้มากขึ้น เป็นวิธีการจัดสต๊อกสินค้าให้หมดคลังได้ และยังช่วยโปรโมตร้านให้รู้จักร้านได้อีกทาง

2.การจัดทำโปรโมชั่น

วิธีที่ง่ายและสะดวกเป็นที่นิยมทำกัน คือการจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม โดยนำสินค้าที่ตกรุ่นหรือไม่เป็นที่นิยมมาวางขายในราคาโปรโมชั่น ทั้งลดราคา แลกซื้อหรือทำเป็นสินค้าแถม ซึ่งจะช่วยเคลียร์สต๊อก ระบายสินค้า ไม่ให้ค้างสต๊อกได้และยังสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดมาได้อีก

3.จัดการสินค้าให้เป็นระบบ FIFO (First In First Out)

การนำระบบ FIFO เข้ามาช่วยจัดการสินค้าค้างสต๊อกเป็นหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเคลียร์สต๊อกได้ดีที่สุดที่จะจัดการเรียงสินค้าตามวันหมดอายุ ระยะเวลาความเสื่อมจัดเรียงไว้หน้าสุดแม่สามารถติดต่อไปวางขายได้ก่อนจะช่วยลดปัญหาสินค้าสต๊อกเสื่อมสภาพ

4.ใช้ระบบจัดการสต๊อกสินค้า

ลองนำระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีฟีเจอร์ช่วยดูแลสินค้าเข้าออกทางทุกชิ้นเพื่อสามารถติดตามสถานะสินค้าคงเหลือและรับรู้สถานะสินค้าที่กำลังมาถึงได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบนี้เปรียบเสมือนคลังสินค้าให้เช่า ทำให้สามารถบริหารสินค้าในร้านให้พอดีกับความต้องการของลูกค้าได้จะช่วยหมดปัญหากับสินค้า Dead Stock ได้

5.วิเคราะห์ยอดขาย

การวิเคราะห์ยอดขายมีความสำคัญ จะเป็นตัวช่วยในการจัดการระบบว่ามีโอกาสขายสินค้าได้จำนวนเท่าไหร่และต้องสต๊อกสินค้าไว้เท่าไหร่เพื่อทำการขาย เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นจาก Dead Stock ได้อย่างดีมาก ๆ

วิธีนําเข้าสินค้าจากจีนของเรา Taobao2You

1. นำเข้าอย่างเดียว

คลิก

2. ฝากสั่ง + นำเข้า (กิโล-คิว)

คลิก

3. ฝากสั่ง + นำเข้า (ปลีก)

คลิก

สรุป Dead Stock ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามถ้าจัดการเรื่องระบบจัดการสต๊อกสินค้าไม่ดีไม่เป็นระบบก็จะต้องเจอกับปัญหาสินค้าค้างสต๊อกหรือ Dead Stock ไม่ว่าจะเกิดจากปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ สินค้าตกความนิยม สต๊อกสินค้ามากไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดแต่ปัญหาการขาดทุนอย่างแน่นอน คำแนะนำในการจัดการสินค้าค้างสต๊อกด้วยการใช้ระบบ Fullfillment หรือการพรีออเดอร์สินค้ากับบริษัทที่รับนำเข้าสินค้าและรับพรีออเดอร์สินค้าอย่างมืออาชีพ เพราะข้อดีของการใช้ระบบและการพรีออเดอร์สินค้าจะช่วยไม่ต้องมีสินค้าสต๊อกมากเกินไป และไม่ต้องมีปัญหาด้านต้นทุนจมได้อีกด้วย เรา Taobao2you ยินดีให้บริการทุกการสั่งซื้อสินค้าจากจีน ไม่ว่าจะเป็นการฝากสั่งหรือฝากนำเข้าสินค้าจากจีนก็ทำได้ หรือจะเป็นการพรีออเดอร์จีนเพื่อไม่ให้เกิดสินค้าค้างสต็อก ก็ไม่ใช่ปัญหาให้เราช่วยดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่การติดต่อกับร้านค้าจนถึงการจัดส่ง ท่านใดสนใจสามารถติดต่อเข้ามาได้ทุกเวลา 24 ชั่วโมง

_____________

ช่องทางการติดต่อ : Taobao2you.com/contact-us

เบอร์โทร : 091-505-0775 ( จันทร์ – เสาร์ 9:00-18:00 )

เฟสบุ๊ค : Taobao2you

อีเมล : Taobao2you@gmail.com

แอป | แอนดรอยด์ : คลิก

ไลน์ : @TAOBAO2YOU