Incoterms คือ

Incoterms ข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ ที่ผู้ซื้อ-ขายสินค้าควรรู้ ทั้งนำเข้า/ส่งออก

Incoterms คือ ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศสำหรับปี 2020 ถือเป็นข้อตกลงมาตรฐานสากลที่ใช้กันในปัจจุบันซึ่งได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงสำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศจากผู้นำเข้าและผู้ส่งออกทั่วโลก

Incoterms คือ หมายถึงอะไร?

Incoterms (International Commercial Terms) ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าหรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยการกำหนดเป็นมาตรฐานการค้า ที่มีข้อตกลงและการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย กลุ่มสากลจะได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ โดยการยึดกับการใช้สหประชาชาติ เพื่อให้ลูกค้าผู้ซื้อและผู้ขายได้ทราบถึงความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงต่างๆ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมมีความเข้าใจตรงกัน Incoterms คือกติกาไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับระหว่างประเทศ หมายความว่าผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องใช้กติกานี้เสมอไป อย่างไรก็ตามหากทั้งสองฝ่ายได้ตกลงใช้กติกานี้ร่วมกันก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งหากผิดข้อตกลงอาจจะต้องถูกฟ้องร้องค่าเสียหาย

สำหรับบริษัทชิปปิ้งจีนจำเป็นต้องทราบเงื่อนไขข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ กรณีมีการนำเข้าสินค้าจากจีน เพื่อที่จะนำข้อมูลราคาสินค้า ค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยนำมาใช้ในการทำใบขนส่งสินค้า เพื่อดำเนินการทางพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้อง

Incoterms สำคัญไหมกับการซื้อขายระหว่างประเทศ

ความจำเป็นของ Incoterms ทำไมถึงต้องมีข้อตกลงนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถอธิบายออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

Incoterms กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขายในแต่ละขั้นตอนของการขนส่งสินค้า ช่วยลดความเสี่ยงและความเข้าใจผิด

Incoterms ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้า โดยกำหนดเงื่อนไขที่ครอบคลุม เช่น ความเสี่ยงในการสูญหาย ความเสียหาย หรือความล่าช้า

Incoterms เป็นภาษาสากลที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายจากประเทศต่างๆ เข้าใจเงื่อนไขการค้าได้อย่างชัดเจน

Incoterms กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารและการผ่านพิธีการศุลกากร ช่วยลดความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น

การใช้ Incoterms แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพและความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อและผู้ขาย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย

สำหรับการหาของจากจีนมาขาย ถือเป็นการซื้อขายระหว่างประเทศเหมือนกัน ที่ต้องมีการติดต่อซื้อขาย จัดทำการสั่งซื้อ ดูแลขั้นตอนการแพ็คของ การจัดเก็บที่โกดังสินค้าจีน การจัดส่งมายังเมืองไทย ผ่านด่านพิธีการศุลกากรต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้เราแนะนำให้ทำผ่านบริษัทชิปปิ้งมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงานเข้ามาดูแลการนำเข้าแทนท่าน

วิธีนําเข้าสินค้าจากจีนของเรา Taobao2You

1. นำเข้าอย่างเดียว

คลิก

2. ฝากสั่ง + นำเข้า (กิโล-คิว)

คลิก

3. ฝากสั่ง + นำเข้า (ปลีก)

คลิก

Incoterms มีกี่ประเภท

กฏข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศมีการปรับปรุงถึง 8 ครั้ง เงื่อนไขที่ใช้กันบ่อยมี 4 เงื่อนไข คือ FOB, EXW, CIF และ CFR แต่ที่จริง Incoterms ได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 ประเภท แบ่งโดยย่อได้ดังต่อไปนี้

1. EXW Term (EX WORKS)

  • Delivery Point : ผู้ขายสามารถวางสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุไว้โดยไม่ต้องขนสินค้าขึ้นบนพาหนะที่มารับสินค้า
  • Risk Point : ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายเมื่อได้รับมอบสินค้า
  • Cost Point : ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าโดยนับตั้งแต่เวลาที่สินค้าถูกส่งมอบแล้ว
  • Customs Clearance Point : ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก วิธีการผ่านแดน และพิธีการค้าเข้าด้วยตนเอง (ส่วนผู้ขายเพียงให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการส่งออก)

2. FAS คือ (FREE ALONGSIDE SHIP)

  • Delivery Point : ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้ที่ข้างเรือของผู้ซื้อ ณ บริเวณท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ซื้อจะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับตั้งแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

3. FCA Term คือ (FREE CARRIER)

  • Delivery Point : ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะของผู้รับขนที่ผู้ซื้อจัดมารับ ณ สถานที่ที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อรับความเสี่ยงจากการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : จะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับตั้งแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า (ส่วนผู้ขายจะให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการผ่านแดนและวิธีการนำเข้า)

4. FOB Term คือ (FREE ON BOARD)

  • Delivery Point : ลูกค้าจะเป็นผู้ส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ซื้อจะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้า นับตั้งแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

5. CIP Term คือ (CARRIAGE AND INSURANCE PAID TO)

  • Delivery Point : ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายกรณีเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด โดยผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน ส่วนผู้ขายจะต้องทำสัญญาประกันภัยต่อความเสี่ยงและชำระค่าประกันภัยให้กับผู้ซื้อจากจุดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งที่ผู้ขายว่าจ้างไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

6. CPT Term คือ (CARRIAGE PAID TO)

  • Delivery Point : ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายต่อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด โดยผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือเสียหายของสินค้า เมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับจัดการขนส่ง
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้านับตั้งแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

7. CFR (COST AND FREIGHT)

  • Delivery Point : ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อผู้ขายไปวางไว้บนเรือ ณ ท่าเรือส่งออกที่ระบุไว้และรับสินค้าจากผู้รับคน ณ ท่าเรือปลายทางที่ระบุ
  • Risk Point : ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนสินค้าได้ส่งมอบแล้วผู้ขายจะต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆจากจุดส่งมอบไปยังจุดหมายปลายทางที่ตกลงกันไว้
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผู้ซื้อจะเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

8. CIF Term (COST INSURANCE AND FREIGHT)

  • Delivery Point : ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางอยู่บนเรือ ณ ท่าเรือที่ระบุไว้และรับสินค้าจากผู้รับขน ณ ท่าเรือปลายทางที่กำหนด
  • Risk Point : ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ขายจะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนสินค้าถูกส่งมอบแล้วโดยผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากจุดส่งมอบไปยังจุดหมายปลายทางที่ตกลงกันไว้ ซึ่งนอกจากนี้ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัยและชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางด้วย
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก และ ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและพิธีการขาเข้า

9. DPU (DELIVERED AT PLACE UNLOADED)

  • Delivery Point : ผู้ขายต้องขนถ่ายสินค้าลงบนพาหนะขนส่งที่มาถึงและทำการส่งมอบสินค้าโดยวางไว้ให้กับผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ขายเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลงและสถานปลายทางที่ระบุไว้
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ส่วนผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

10. DAP (DELIVERED AT PLACE DDP)

  • Delivery Point : ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
  • Customs Clearance Point : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ส่วนผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

11. DDP Term คือ (DELIVERED DUTY PAID)

  • Delivery Point : ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมคนขายสินค้าลง ณ จุดที่ตกลงกันที่สถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
  • Risk Point : ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและคนถ่ายลง ณ สถานที่ไปสถานที่ระบุไว้
  • Cost Point : ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งสินค้าจนสินค้าถึงสถานที่ที่ส่งมอบไปทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
  • Customs Clearance Point : ลูกค้าเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก พิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า

ฉบับล่าสุด Incoterms 2020

Incoterm ฉบับล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่เทอม CNI (Cost and Insurance) ซึ่งเทอมใหม่นี้หมายความรวมถึงเทอม FCA + Insurance ที่เพิ่งขายต้องซื้อประกันให้กับผู้ซื้อด้วยแต่พวกขายไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบค่าขนส่งระหว่างประเทศ เพราะปัจจุบันเรามีการใช้เทิร์นซีแอนด์กันมากขึ้นซึ่งจะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายกันเองได้ สำหรับฉบับล่าสุด Incoterms 2020 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ

  1. เทอม DAT ของ Incoterms 2010 จะสลับหน้าที่มาเป็นเทอม DAP ของ Incoterm 2020 ส่วนเทอม DAT ของ Incoterm 2010 จะเปลี่ยนเป็นเรียกชื่อเป็น DPU ของ Incoterm 2020 เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ขายและผู้ซื้อมีความประสงค์ให้มีการส่งมอบและรับมอบสินค้ากัน ณ สถานที่อื่นมากกว่าที่จะระบุสถานีปลายทาง
  2. การทำสัญญาซื้อขายเทอม FCA ผู้ขายจะต้องบรรทุกสินค้าขึ้นหรือลงในยานพาหนะที่ผู้ซื้อจัดหามากรณีที่ไม่ใช่บรรทุกลงเรือใหญ่โดยตรง จะต้องบรรทุกขึ้นรถหรือลงเรือโป๊ะไปถ่ายลงเรือใหญ่ ในกรณีเป็นการชำระเงินโดย LC ธนาคารกำหนดให้ต้องนำ BL ไปแสดงจึงจะจ่ายเงินตาม LC แก่ผู้ขาย กรณีมีปัญหาเกิดขึ้นสายการเดินเรือจะยังไม่ออก BL ให้จนกว่าสินค้าที่บรรทุกในรถหรือเรือโป๊ะจะบรรทุกลงเรือใหญ่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ตาม Incoterms 2020 ในเทอม FCA ได้เปิดช่องให้คู่สัญญาสามารถทำความตกลงกับในสัญญาซื้อขายโดยกำหนดให้ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหาเรือจะต้องมีข้อกำหนดให้สายการเดินเรือออกมี BL รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวกับการบรรทุกให้ผู้ขาย
  3. เรื่องของการประกันภัยจะต้องมีการครอบคลุมในระดับที่สูงขึ้น ในการซื้อขายเทอม CIF และเทอม CIP จะเป็นหน้าที่ของผู้ขายจะต้องมีความรับผิดชอบในการประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งไปส่งมอบให้ผู้ซื้อตาม Incoterm 2010 โดยสัญญาประกันภัยอาจครอบคลุมช่วงใดช่วงหนึ่งของการขนส่งสายตาม Incoterms 2020 ผู้ขายจะต้องซื้อประกันภัยที่ครอบคลุมสูงขึ้นจากเดิม

โดยกฎเกณฑ์ใหม่นี้ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำการค้าระหว่างประเทศ ทุกฝ่ายทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการจำเป็นต้องศึกษาและนำไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ความแตกต่างของ Incoterms 2010 กับ 2020

จุดแตกต่างกันของทั้ง 2 ฉบับ Incoterms 2010 กับ 2020 ต่างกันอย่างไร ในปี 2020 มีความเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง ดังนี้

  • ปัจจุบัน CIP ต้องการการประกันภัยอย่างน้อยมีความคุ้มครองขั้นต่ำของ Institute Cargo Clause (A) ความเสี่ยงทั้งหมดขึ้นอยู่กับการยกเว้นแบบระบบรายการ
  • ปัจจุบัน Incoterm FCA Free Carrier มีตัวเลือกเพิ่มเติมในการสร้างสัญกรณ์บนเรือในใบตราส่งสินค้าก่อนการขนถ่ายสินค้าบนเรือ
  • ปัจจุบันค่าใช้จ่ายจะรวมอยู่ที่ A9/B9 ของกฏ incoterm แต่ละข้อ
  • ปัจจุบัน Incoterm 2020 ได้เปลี่ยนความรับผิดชอบของข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้กับลูกค้าอย่างชัดเจน
  • กฎของ Incoterms Free Carrier (FCA) จัดส่ง ณ สถานที่ (DAP) จัดส่งที่ Place Unloaded (DPU) และ Delivery Duty Paid (DDP) คำนึงถึงว่าสินค้าอาจถูกบรรทุกได้โดยไม่มีผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง
  • CIF จำเป็นต้องมีการประกันภัยอย่างน้อยโดยมีความครอบคลุมขั้นต่ำของ Institute Cargo Clause © 
  • Delivery at Terminal (DAT) เปลี่ยนเป็นส่งที่สถานที่ ยกเลิกการโหลด (DPU) เพื่อชี้แจงว่าสถานที่ปลายทางอาจเป็นสถานที่ใดก็ได้ และไม่เพียงแต่เป็น Terminal เท่านั้น

สรุป Incoterms 2020 คือ (International Commercial Terms of 2020) ข้อตกลงมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงสำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศทั้งจากผู้นำเข้าและผู้ส่งออกทั่วโลก. Incoterms 2020 ประกอบด้วย 11 ประเภทของข้อตกลงการซื้อขายระหว่างประเทศ แต่ละประเภทของข้อตกลงจะมีรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้า, การรับผิดชอบค่าใช้จ่าย, การผ่านพิธีการศุลกากร, และความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ และฉบับล่าสุด Incoterms 2020 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยกฎเกณฑ์ใหม่นี้ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำการค้าระหว่างประเทศ ทุกฝ่ายทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการจำเป็นต้องศึกษาและนำไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

และสำหรับเรื่องของการนำเข้าสินค้าจากจีนมาจำหน่ายในเมืองไทย โดยบริษัทชิปปิ้งมีความจำเป็นต้องทราบเงื่อนไขข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน กรณีมีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อที่จะมีข้อมูลการขนส่ง การประกันภัย มาใช้ในการดำเนินการทางพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในเงื่อนไขของ Incoterms 2020 ฉบับล่าสุดที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ บริษัท Taobao2you ได้ทำความเข้าใจและทราบเงื่อนไขอย่างละเอียด เพื่อทำตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทึ่วางไว้ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ซึ่งหากท่านต้องการนำเข้าสินค้าจากจีน ขอได้โปรดไว้วางใจเราบริษัท Taobao2you เป็นผู้ดูแลจัดการออเดอร์ รับนำเข้าสินค้าจากจีนให้กับท่านทุกขั้นตอน

_____________

ช่องทางการติดต่อ : Taobao2you.com/contact-us

เบอร์โทร : 091-505-0775 ( จันทร์ – เสาร์ 9:00-18:00 )

เฟสบุ๊ค : Taobao2you

อีเมล : Taobao2you@gmail.com

แอป | แอนดรอยด์ : คลิก

ไลน์ : @TAOBAO2YOU